บทความ
14/06/2567
Sustainable Bonds ไทย-สหรัฐฯ พันธมิตรด้านพลังงานที่ยั่งยืน
ประเทศไทยและสหรัฐอเมริกาต่างมุ่งมั่นและดำเนินนโยบายด้านพลังงานไปแนวทางเดียวกันนั่นคือการผลักดันการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มาติดตามความคืบหน้าและพันธกิจความร่วมมือทางด้านพลังงานระหว่างไทย-สหรัฐฯ ผ่านบทสัมภาษณ์นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ท่ามกลางสถานการณ์พลังงาน ณ ปัจจุบัน ประเด็นเรื่องความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ควบคู่ไปกับความร่วมมือในการแสวงหาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่โลกพลังงานสะอาด ซึ่งประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาต่างเป็นพันธมิตรด้านพลังงานกันมาอย่างยาวนาน ฉบับนี้เราได้รับเกียรติจากนายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย มาพูดคุยถึงภาพรวมการบริหารจัดการด้านพลังงาน โครงการพลังงานทดแทนที่น่าสนใจและความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับไทยในอนาคต
แนวทางความร่วมมือภายใต้การเป็นพันธมิตรด้านพลังงานระหว่างสหรัฐอเมริกากับไทย
“ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่สละเวลามาในวันนี้ให้เราได้มีโอกาสพูดคุยเรื่องความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศไทย ซึ่งมีความลึกซึ้งและแน่นแฟ้น โดยเรามีความร่วมมือกันมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว จริง ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราก็เพิ่งจัดงานเสวนาประจำปีเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานระหว่างสหรัฐฯ และประเทศไทยเสร็จสิ้นไป ซึ่งงานเสวนานี้เปิดโอกาสให้เราได้พูดคุยกันเกี่ยวกับความร่วมมือได้อย่างเต็มที่ ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจของเราทั้งสองประเทศไปสู่เศรษฐกิจพลังงานสะอาดได้อย่างไร เราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาพลังงานที่โลกต้องการ มีแหล่งพลังงานใหม่ ๆ อะไรบ้างที่เราอาจมีอยู่และนำมาใช้ได้ เช่น เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรืออื่น ๆ
กล่าวคือ ความร่วมมือด้านพลังงานของเรามีกันมายาวนานหลายต่อหลายปีมาแล้ว และก็ชัดเจนว่าเป็นความร่วมมือระดับรัฐบาลกับรัฐบาล แต่ทั้งนี้ก็ยังมีความร่วมมือกันในภาคธุรกิจด้วย เรามีธุรกิจของสหรัฐฯ หลายบริษัทที่เข้ามามีส่วนร่วมในภาคพลังงานของไทย แต่ในส่วนของเราเอง ก็ยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายด้านพลังงานต่อไปด้วยเช่นกัน เช่น ในเรื่องของพลังงานสะอาด และจริง ๆ เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ที่เรากำลังเผชิญจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกเราจำเป็นต้องหาหนทางที่จะสามารถเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจของเราให้ได้ ซึ่งรัฐบาลไทยก็มุ่งมั่นที่จะทำเช่นนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ก็มุ่งมั่นที่จะทำเช่นกัน ดังนั้น ก็ต้องย้ำอีกครั้งว่าการมองหาหนทางที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านได้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
ผมยินดีมากที่จะกล่าวถึงตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในความร่วมมือของเรา นั่นคือเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาเราได้ลงนามกับทาง กฟผ. โดยองค์การการค้าและการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา (U.S. Trade and Development Agency: USTDA) ตกลงที่จะให้การช่วยเหลือด้านเทคนิคสำหรับโครงการพลังงานน้ำ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก ซึ่งนี่จะทำให้ กฟผ. สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดได้ และผมคิดว่าเรื่องนี้ก็เป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมาก ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเราทำงานร่วมกันอย่างไรในเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งนี้”
อะไรคือแรงจูงใจที่ USTDA ร่วมมือกับไทยในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเขื่อนวชิราลงกรณ และทั้งสองประเทศได้ผลประโยชน์ร่วมกันในโครงการนี้อย่างไร
“ไม่มีภัยคุกคามใดจะน่ากังวลไปกว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอีกแล้ว และมันคือความท้าทายที่เราต้องช่วยกันรับมือ ท่านประธานาธิบดีไบเดนได้กำหนดเรื่องนี้ให้เป็นแกนกลางสำคัญของนโยบายด้านการต่างประเทศของท่าน โดยโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างอันสมบูรณ์แบบที่แสดงให้เห็นว่าทางสหรัฐฯ ทำการช่วยเหลือประเทศไทยให้สามารถทำพันธกิจอันท้าทายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนให้ได้ในปี ค.ศ. 2050 อย่างไร
การบรรลุเป้าหมายเหล่านี้จะต้องอาศัยการแปรรูปอย่างมีนัยยะสำคัญในภาคพลังงานของประเทศไทย รวมถึงการลงทุนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เรากำลังเชื่อม กฟผ. ให้เข้าถึงแนวทางการแก้ปัญหาและความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่มีคุณภาพสูงของสหรัฐฯ ซึ่งจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซและทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้น อันจะยังประโยชน์ให้แก่ทั้งไทยและสหรัฐฯ”
USTDA มองว่าโครงการไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ จะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายเรื่องพลังงานสะอาด รวมถึงสนับสนุนพันธกิจของประเทศด้านการเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างไร
“โครงการไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับเป็นตัวช่วยในการกักเก็บพลังงาน ซึ่งจะกักเก็บและผลิตไฟฟ้าโดยการเคลื่อนย้ายน้ำระหว่างอ่างเก็บน้ำสองแห่งที่มีระดับความสูงที่แตกต่างกัน โครงการนี้จะช่วยสร้างความมั่นคงและความน่าไว้วางใจให้แก่ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid) ขณะเดียวกันก็จะช่วยบูรณาการแหล่งพลังงานสะอาดเข้าด้วยกัน อย่างที่ กฟผ. ทราบว่าในการดำเนินโครงการพลังงานหมุนเวียนในจำนวนที่มากขึ้น ประเทศไทยจำเป็นจะต้องมีตัวเลือกระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่ยืดหยุ่นขึ้นเพื่อจัดการในเรื่องของความผันแปร
หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญที่สุดในเรื่องของพลังงานหมุนเวียนคือความผันแปร เราไม่สามารถควบคุมได้ว่าเมื่อไหร่แดดจะออกหรือลมจะพัดได้ ดังนั้น การกักเก็บพลังงานจึงเป็นแบตเตอรี่สำรองที่สำคัญในช่วงการผลิตพลังงาน ระบบกักเก็บพลังงานความจุสูงอย่างระบบพลังน้ำแบบสูบกลับจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากพลังงานฟอสซิลไปสู่พลังงานหมุนเวียนของประเทศไทย”
ในเรื่องของการถ่ายโอนความรู้และเทคโนโลยี USTDA มีแผนที่จะทำอะไรเพื่อช่วยในความร่วมมือนี้เป็นการเฉพาะ และจะสร้างผลกระทบต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่ยั่งยืนในประเทศไทยอย่างไร
“การศึกษาซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก USTDA จะช่วยให้ กฟผ. สามารถระบุเทคโนโลยีและตัวเลือกทางดีไซน์ที่เหมาะสมที่สุด และสามารถวางโครงสร้างของโครงการนี้ ทั้งในเรื่องการเงิน การดำเนินการ และการสร้างความยั่งยืน
การพัฒนาพื้นฐานทางเทคนิคให้แข็งแกร่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะมันจะช่วยกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ จากสหรัฐฯ ที่ต้องการที่จะมาช่วยในเรื่องการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของประเทศไทยอยากจะมาเข้าร่วมในโครงการนี้ เรามองเห็นโอกาสสำคัญสำหรับบริษัทจากสหรัฐฯ ความเชี่ยวชาญและนวัตกรรมของพวกเขามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศไทย และช่วยขับเคลื่อนเป้าหมายอันท้าทายของประเทศไทยในเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ”
จากมุมมองภาพกว้าง USTDA มองว่าความร่วมมือนี้จะส่งอิทธิผลต่อความเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ และไทยในภาคพลังงานในอนาคตอย่างไร และมีความร่วมมือเพิ่มเติมในด้านอื่นที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่อีกหรือไม่
“โครงการพลังน้ำดังกล่าวของ USTDA เป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ความร่วมมือที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพในอนาคตของภาคพลังงาน นอกจากความร่วมมือดังกล่าวที่ USTDA กำลังปลุกปั้นกับรัฐบาลและบริษัทเอกชนในไทยแล้ว สหรัฐฯ และไทยกำลังทำการศึกษาอย่างแข็งขันเกี่ยวกับการยกระดับความร่วมมือในเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาดขั้นสูง เช่น เรื่องของลมนอกชายฝั่งทะเล นิวเคลียร์ ไฮโดรเจน ยานยนต์ไฟฟ้า เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน และระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ เป็นต้น
สำหรับตัวอย่างอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นศักยภาพของความร่วมมือในอนาคตในภาคพลังงาน ก็ยังมีอีกมากมาย อาทิ
- สหรัฐฯ สร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในเรื่องของการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าระหว่างประเทศ การกักเก็บพลังงานและการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า และการปฏิรูปตลาดไฟฟ้าของประเทศไทยผ่านหุ้นส่วนด้านพลังงาน
- แม่น้ำโขงระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐฯ (Japan-U.S. Mekong Power Partnership: JUMPP) ภายใต้หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership: MUSP)
- ความช่วยเหลือเพิ่มเติมของสหรัฐฯ จะมุ่งเน้นในเรื่องอัตราค่าบริการไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff) และโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม โดยทั้งสองเรื่องเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของประเทศไทยในการเปิดตลาดไฟฟ้าเสรี
- กรมการพัฒนากฎหมายการค้า (CLDP) ให้ความช่วยเหลือ (รวมถึงสนับสนุนการเดินทางไปดูงานที่สหรัฐฯ) ในเรื่องของการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน และการสร้างตลาดคาร์บอนในประเทศไทย
- ภายใต้โครงการพลังงาน USAID เรากำลังทำงานร่วมกับคู่ความร่วมมือในไทยเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่การเป็นภาคพลังงานคาร์บอนต่ำ และขณะเดียวกันก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น
- เป็นพันธมิตรกับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อจัดการผลกระทบต่อระบบส่งไฟฟ้า (Grid Impacts) ของยานยนต์ไฟฟ้า
- เป็นพันธมิตรกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เพื่อยกระดับความปลอดภัยด้านการปฏิบัติงานของโครงการพลังงานลมใหม่ ๆ
- เป็นพันธมิตรกับ กฟผ. ในการเพิ่มประสิทธิภาพของสายส่งไฟฟ้าแรงสูง
- เป็นพันธมิตรกับ ปตท. ในการลดการปล่อยก๊าซมีเทน ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- การขยายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเป็นอีกหนึ่งโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากภาคการขนส่ง ประเทศไทยสามารถทำตามเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคได้โดยการเพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) และการพัฒนาการเข้าถึงตลาดสำหรับวัตถุดิบตั้งต้นของ SAF ที่ยั่งยืนและมีพร้อมอยู่แล้ว”
รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนการลงทุนที่มีศักยภาพจากประเทศไทยไปยังสหรัฐฯ อย่างไรบ้าง
“เราตื่นเต้นมากที่จะมีการลงทุนจากประเทศไทยในสหรัฐฯ แน่นอนว่าเราจะทำทุกอย่างที่สามารถทำได้เพื่อทำงานร่วมกับบริษัทและบุคคลต่าง ๆ รวมถึงรัฐบาลไทยด้วยเช่นกัน ในช่วงสองปีที่แล้ว เราได้ออกกฎหมายใหม่ เช่น กฎหมายเรื่องโครงสร้างพื้นฐานฉบับใหม่ หรือพระราชบัญญัติ CHIPS ซึ่งนี่เป็นเพียงสองตัวอย่างที่ช่วยเพิ่มสิทธิประโยชน์และโอกาสสำหรับบริษัทไทยที่จะไปลงทุนในสหรัฐฯ จะเห็นได้ว่าเรายินดีต้อนรับธุรกิจต่าง ๆ จากประเทศไทยอย่างมาก
นอกจากนี้ ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นรูปธรรม นั่นคือมีนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญชาวไทยที่กำลังจะเดินทางไปสหรัฐฯ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเราก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือและยินดีต้อนรับอย่างยิ่งที่กลุ่มนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญชาวไทยจะเดินทางมายังสหรัฐฯ เพื่อทำงานด้านพลังงาน และอันที่จริงก็มีอีกหลาย ๆ ด้านที่เรามีความร่วมมืออยู่”
แม้ว่าความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสหรัฐฯ และไทยจะดำเนินมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แต่คงไม่มีช่วงเวลาใดที่จะแน่นเฟ้นและเข้มข้นเท่า ณ เวลานี้ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันหยุดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และสร้างเมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกให้ก้าวสู่ยุคพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง
Thailand and the United States are both committed to and pursuing energy policies in the same direction, which is to promote the use of clean energy to transition to a low-carbon society. Let’s follow the progress and missions of cooperation between Thailand and the United States through an interview with Robert F. Godec, the Ambassador of the United States to Thailand.
In the midst of the current energy situation, sustainability in energy is globally recognized as a top priority. In the meantime, collaborating to seek knowledge in technology is coupled with efforts to transition towards a world powered by clean energy. Thailand and the United States have long been energy partners. In this edition, we have the privilege of speaking with Robert F. Godec, the Ambassador of the United States to Thailand, to discuss the overall energy management landscape, interesting renewable energy projects, and the future cooperation between the United States and Thailand.
Can you provide us the overview of the US-Thai Energy Partnership efforts?
“First of all, thank you for the time today and the opportunity to speak with you. The US-Thailand energy cooperation is very deep and strong. It goes back many years. Just a few days ago, we’ve actually finished one of our annual US-Thailand energy policy dialogues. And it really is an opportunity for us to talk about the widest range of cooperation. For example, how do we transit our economies to clean energy? What sort of things can be done to improve the energy that the world is getting? What sources of new energy might be available, for example, through hydrogen fuel, small nuclear reactors, or any number of different areas?
So, our energy cooperation goes back many, many years. And it certainly is government-to-government cooperation, but it’s also business-to-business. We have many US businesses that are also engaged in the energy sector. It’s very important for us to continue to work as well, for example, in the clean energy area. And that really is a focus recently. With the global factor that we face from the climate change, we need to find ways that we can really, again, transition our economies. The Royal Thai Government is committed to that. The US government is committed to that. So, being able to look at ways, again, to make the transition is very, very important.
I was very happy. It’s just a very concrete example of our cooperation just a few months ago to sign EGAT, a USTDA grant that will be providing technical assistance around a hydropower project that I think is very exciting. And it will really give EGAT access to US technology, the very best technology. And I think that it’s just a very concrete example of how we’re working together in this very important area.”
Why did USTDA collaborate with Thailand on the Vajiralongkorn Dam pumped storage hydropower feasibility study, and what benefits does it foresee for both parties?
“There is no greater threat than climate change, and it is a challenge that we must tackle together. President Biden has made this a central pillar of his foreign policy. This project is a perfect example of how the United States is helping Thailand meet its ambitious commitments to achieve carbon neutrality by 2050.
Achieving these targets will require a significant transformation in Thailand’s energy sector, including significant investments in energy infrastructure. We are connecting EGAT with high-quality U.S. solutions and technical expertise that can help reduce emissions and strengthen Thailand’s energy infrastructure, which is mutually beneficial to Thailand and the United States.”
How does USTDA see the pumped-storage hydropower project’s role in Thailand’s clean energy goals and carbon neutrality commitment?
“Pumped storage hydropower is an energy storage solution that stores and generates electricity by moving water between two reservoirs at different elevations.
This project will help to provide stability and reliability to the grid while supporting the integration of clean energy sources. As EGAT recognizes, to implement more renewable energy projects, Thailand will need more flexible grid options to manage this variability.
One of the greatest challenges with renewable energy is its variability. We can’t control when the sun shines and the wind blows. So, energy storage is an important backup battery during energy generation.
High-capacity energy storage systems like pumped storage hydropower will be a significant tool in Thailand’s successful energy transition from fossil fuels to renewable energy.”
What technology and knowledge will USTDA offer in the collaboration, and how might this aid sustainable energy infrastructure development in Thailand?
“A study funded through a grant from USTDA will help EGAT to identify the optimal technology and design options and to structure the project so that it can be financed, implemented, and sustained.
Developing this strong technical foundation is important because it enables U.S. companies eager to contribute to Thailand’s energy transition to participate in the project. We see significant opportunities for U.S. companies to offer their expertise and innovation to support Thailand’s energy infrastructure development and to drive the country’s ambitious goals for emissions reduction.”
How does USTDA see this collaboration shaping future U.S.-Thailand energy partnerships, and are there other areas of cooperation being considered?
“The USTDA hydropower project is just one of many areas of ongoing and possible future collaboration in the energy sector. In addition to the collaboration that USTDA is fostering with the Thai government and businesses, the United States and Thailand are actively exploring enhanced cooperation on advanced clean energy technologies such as offshore wind, nuclear, hydrogen, electric vehicles, sustainable aviation fuel, and battery energy storage.
Numerous other examples showcase all the potential for future collaboration in the energy sector including:
- Through the Japan-U.S.-Mekong Power Partnership (JUMPP) under the Mekong-U.S. Partnership (MUSP), the United States continues to build cooperation on cross-border electricity interconnections, energy storage and Electric Vehicle charging, and reforms to Thailand’s electricity market.
- Additional U.S. assistance will focus on Thailand’s new utility green tariff and third-party access framework – both part of Thailand’s efforts to liberalize its power market.
- The Department of Commerce Commercial Law Development Program (CLDP) provides assistance (including study tours to the United States) on carbon capture and storage and on the creation of a carbon market in Thailand.
- Through USAID energy programs, we are working with Thai counterparts to shift Thailand towards a low-carbon energy sector while at the same time meeting the increasing energy demands of a growing economy:
- Partnering with the Metropolitan Electricity Authority (MEA) to manage the gird impacts of EVs.
- Partnering with the Energy Regulatory Commission to improve operational safety of new wind projects.
- Partnering with EGAT to increase the efficiency of transmission lines.
- Partnering with PTT to reduce methane emissions throughout its supply chain.
- Expanding biofuel utilization represents another opportunity to reduce carbon emissions from the transportation sector. Thailand can further its goal of becoming a regional aviation hub by increasing its production of Sustainable Aviation Fuel (SAF) and improving market access for sustainable and readily available SAF feedstocks.”
How does the US government support their potential investment from Thailand in the US?
“Well, we’re very excited to have Thai investment in the United States. We certainly do everything we can to work with companies, individuals, and the Royal Thai Government as well. In the last couple of years, we have put in place some new laws, such as our new infrastructure law or the CHIPS Act, just a couple of examples which really increase the incentives and opportunities for Thai companies to invest in the United States. So, we are very much welcoming Thai businesses.
Actually, another concrete example is we have a lot of Thai business people and experts going to the United States right now. So, we’re ready to cooperate and very much want to welcome Thai business people and experts to come to the United States to work in the energy area and indeed in all the various areas where we’re cooperating.”
Although energy cooperation between the United States and Thailand has been ongoing for a long time, there’s perhaps no time as crucial and intense as now. Currently, all parties must collaborate closely to mitigate the impacts of climate change and foster a mega-trend that truly transitions the world towards a clean energy era.